top of page

หนังสือเครือข่ายสานพลังสุขภาวะวิถีพุทธ

โดย พระศรีสมโพธิ ดร., รศ.ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์, ชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์ และภูเบศ วณิชชานนท์

#7 (1).jpg

          สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ดําเนินกิจกรรมวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างกลไก เครือข่าย ตลอดจนผลักดันการนําองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาไปขับเคลื่อนให้เกิดสังคมสุขภาวะมาอย่างต่อเนื่อง

รูปประกอบ#5.jpg

          นําไปสู่ที่มาของการดําเนินงานภายใต้ “โครงการเสริมสร้างสุขภาวะและเครือข่ายทางสังคมเพื่อลดปัจจัย เสี่ยงเชิงพุทธบูรณาการ” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งการศึกษาวิจัยที่ สํานักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สํานักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ ได้ส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายการทํางานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในสังคม

รูปประกอบ#7.jpg

          การดําเนินงานที่พยายามสร้างเครือข่ายที่สามารถบูรณาการ การดําเนินกิจกรรมเพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้รับการพัฒนาจากกิจกรรมเชิงพื้นที่ต้นแบบ 24 แห่งสู่การสร้างเครือข่าย ระดับนโยบายที่เป็นรูปธรรม โดยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมกับ สํานักงานเจ้าคณะภาค 6 สํานักงานเจ้าคณะภาค 7 กรมควบคุมโรค สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมการ ปกครอง และคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ลงนามความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายการ ดําเนินกิจกรรมที่จะยึดหน่วยงานต่าง ๆ ให้สามารถใช้กลไกการทํากิจกรรมร่วมกัน เพื่อลดลดอัตราการสูบบุหรี่ และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้สําเร็จอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นในอนาคต

IMG_0305.jpg

          ขณะที่ การดําเนินกิจกรรมเชิงวิชาการ คณะทํางานโครงการเสริมสร้างสุขภาวะและเครือข่ายทางสังคม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพุทธบูรณาการ ได้ถอดบทเรียนการดําเนินกิจกรรมจาก 12 จังหวัดต้นแบบที่เป็นส่วนหนึ่ง ของการเข้าร่วมทํากิจกรรมสร้างสุขภาวะวิถีพุทธ โดยเฉพาะการเปิดพื้นที่ให้มีการใช้องค์ความรู้ทาง พระพุทธศาสนา เพื่อมาลดปัจจัยเสี่ยงให้แพร่ขยายไปในชุมชนต่าง ๆ

chart01.jpg

          ทั้งนี้คณะผู้แต่งประกอบไปด้วย พระศรีสมโพธิ ดร. รศ.ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ อ.ภูเบศ วณิชชานนท์ และ อ.ชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์ ได้ถอดบทเรียนการสร้างเครือข่ายสานพลังวิถีพุทธ อีกทั้งนําเสนอแนวทางพื้นฐาน เกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรม รวมทั้งกลไกภาคสนามที่จะช่วยยกระดับการสร้างเครือข่ายการลดปัจจัยเสี่ยงให้กับ องค์กรทางพระพุทธศาสนาในพื้นทีอื่น ๆ ได้เรียนรู้ที่จะทํางานลักษณะนี้ในอนาคต

#6 (1).jpg

          จะเห็นได้ว่าในหนังสือดังกล่าว มีการรวบรวมข้อมูลฉบับสังเขปที่น่าสนใจ ทั้งที่เกี่ยวกับการดําเนินงานของ โครงการเสริมสร้างสุขภาวะและเครือข่ายทางสังคมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพุทธบูรณาการ ที่พยายามเชื่อมโยง บทบาทการดําเนินงานร่วมกับการขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” รวมทั้งหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่จะเป็นแก่นสําคัญของการ ขับเคลื่อนกิจกรรมการลดปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นในระดับของพื้นที่

รูปประกอบ#1.jpg

          ท้ายที่สุด เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการดําเนินงานระดับพื้นที่ที่สามารถถอดบทเรียนออกมาเป็นต้นแบบ ของการเรียนรู้ที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมต่อไปในอนาคต ซึ่งหากสามารถยกระดับการดําเนินงานให้เกิดเครือข่ายที่ สะท้อนความเข้มแข็งในการลดอัตราการสูบบุหรี่ และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยอาศัยกลไกทาง พระพุทธศาสนาเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนได้ จะถือเป็นอีกรูปแบบการดําเนินกิจกรรมที่สนับสนุนให้สังคมไทยเกิด สุขภาวะอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคตได้สําเร็จ

#2 (1).jpg
#3 (1).jpg
#5 (1).jpg

เนื้อหาโดย

_DSC0021.jpg

พงษ์พัฒน์ ใหม่จันทร์ดี

bottom of page